การจับขั้วทางการเมือง

กลุ่มที่ 1 :
จำนวน ส.ส. 250
--พปชร
--ปชป
--รปช
250ส.ว.
พลังประชารัฐ
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
ประชาธิปัตย์
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
รวมพลังประชาชาติไทย
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
ส.ว.
250

การจับขั้วทางการเมือง

กลุ่มที่ 1 :
จำนวน ส.ส. 250
--พปชร
--ปชป
--รปช
250ส.ว.
พลังประชารัฐ
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
ประชาธิปัตย์
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
รวมพลังประชาชาติไทย
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
ส.ว.
250
กลุ่มที่ 2 :
จำนวน ส.ส. 0
--
--
--
เพื่อไทย
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
อนาคตใหม่
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
ประชาธิปัตย์
-- คะแนน
ส.ส. เขต --
ส.ส. พึงมี --
เลือกตั้ง 2562

ช่อ พรรณิการ์ แจงชัด ๆ ภาพชุดครุย ขอโทษที่ทำไป สมัยวัยรุ่นอินการเมือง

19 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

พปชร. ย้อนเกล็ด ยื่นตรวจสอบ 20 ส.ส. 7 พรรคฝั่งเพื่อไทย เข้าข่ายถือหุ้นสื่อ

17 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

7 พรรคขั้วเพื่อไทย เตรียมยื่นญัตติด่วน ตรวจสอบที่มา ส.ว. และสูตรคำนวณ ส.ส.

17 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

ประชาธิปัตย์ รับยุบ New Dem กลุ่มคนรุ่นใหม่จริง รับมีหลายคนขอยุติบทบาท

18 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

ศรีสุวรรณ แฉ นิพนธ์ คดีฉาวเพียบ ขวางนั่งเก้าอี้ รมช.-เจ้าตัวโต้ทันควัน ยันบริสุทธิ์

17 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

ประชาธิปัตย์ เปิดตัว ทีมอเวนเจอร์ส เศรษฐกิจยุคใหม่ แก้ปัญหาประเทศ

17 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

ปารีณา ฉุน โดนกุข่าวถูกปลดพ้น พปชร. - ชี้โดนพรรคขี้แพ้ จ่อถูกยุบ กลั่นแกล้ง

16 มิถุนายน 2562
เลือกตั้ง 2562

พรรครักษ์ผืนป่าฯ ขู่หนีเป็นฝ่ายค้าน หาก พปชร. ยกกระทรวงทรัพยากรฯ ให้ ชาติไทยพัฒนา

17 มิถุนายน 2562

วิเคราะห์ สูตรจัดตั้งรัฐบาล ใหม่

วิเคราะห์ สูตรจัดตั้งรัฐบาล ใหม่
หลังสังคมจับตาการจัดตั้งรัฐบาลของ 2 ขั้วพรรคการเมือง “เพื่อไทย” และ “พลังประชารัฐ” ในที่สุด พรรคเพื่อไทย ก็ได้ประกาศจับมือกับพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. อย่าง พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคพลังปวงชนไทย จัดตั้งรัฐบาลที่เรียกตัวเองว่าฝั่งประชาธิปไตย โดยพรรคอนาคตใหม่ ลั่นวาจาชู คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นั่งแท่นชิงตำแหน่งนายกฯ ด้วยเหตุผลว่า “เหมาะสมที่สุด” ส่วนพรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่ได้ ส.ส. 6 คน แม้จะไม่ได้มาตามนัด แต่ภายหลัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ ให้สัมภาษณ์ยืนยันรักษาสัจจะ ทำให้ขณะนี้ขั้วเพื่อไทย ที่ขนานนามตั้งตนว่า “ขั้วประชาธิปไตย” ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย มีเสียง ส.ส. รวมทั้งหมด 246 เสียง
ขณะที่ “พรรคพลังประชารัฐ” ประกาศเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน โดยอ้างความชอบธรรมจำนวนเสียงที่ประชาชนเลือกมาว่ามีมากกว่าพรรคเพื่อไทย แม้พรรคพลังประชารัฐจะยังไม่เปิดรายชื่อพรรคในสังกัด แต่ดูเหมือนว่า การรวมพรรคเพื่อให้ฐานเสียงเพียงพอกับการสนับสนุน “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นนายกฯ อีกสมัย จะยากอยู่พอสมควร หากจะให้รอดจากการเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ซึ่งนอกจากจะต้องได้พรรคตัวแปรมาทั้งหมด คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคเล็กทั้งหมดแล้วที่รวมกับพรรคตนเอง และพรรครวมพลังประชาชาติไทย ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แล้วก็ยังคงได้เพียง 254 เสียง ยังจะต้องหา “งูเห่า” มาให้ได้อีกจำนวนหนึ่ง เพื่อความมั่นคงในสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่างที่จะต้องผ่านร่างงบประมาณประจำปี เพื่อให้รอดพ้นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้แบบไม่ต้องมาคอยนับจำนวน ส.ส. ทุกชั่วโมง ซึ่งคงหนีไม่พ้นการหา “งูเห่า” จากพรรคเพื่อไทย ที่ก่อนหน้านี้พรรคพลังประชารัฐเคยดูดอดีต ส.ส. มาได้แล้วจำนวนหนึ่งในช่วงก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เองก็กำลังปั่นป่วน หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงสปิริตลาออกรับผิดชอบที่ได้ ส.ส. น้อยกว่าจำนวนที่ลั่นวาจาไว้ ทำให้เกิดศึกภายในแย่งเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และพร้อมที่จะเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ภายใต้การนำของนายถาวร เสนเนียม เงาของนายสุเทพ ที่นัดประชุมว่าที่ ส.ส. นอกรอบ แต่ก็ยังไม่วายถูกกลุ่ม ส.ส. รุ่นใหม่ New Dem ประกาศไม่เอาด้วย งานนี้จึงต้องรอดูกันต่อไป
แม้พรรคเพื่อไทยจะรวบรวมเสียงจับขั้วได้ 246 เสียง แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอต่อการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งรัฐบาลที่ต้องมีจำนวน 376 เสียง และมีโอกาสเพียงริบหรี่เช่นกันที่พรรคตัวแปรจะหันมาสนับสนุนทั้งหมด ท้ายที่สุด สุดท้ายจะมี “งูเห่า” เกิดขึ้นจำนวนเท่าไร พรรคพลังประชารัฐ หรือ พรรคเพื่อไทย จะจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ หรือลงเอยที่เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยไปก่อน แล้วดึงงูเห่าเข้าร่วมภายหลัง โดยเสนอตำแหน่งให้ “งูเห่า” ในรัฐบาลก็มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น หรือสุดท้ายจะยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้กำหนดระยะเวลา ...ก็แค่รัฐบาลชุดปัจจุบัน และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไปเรื่อย ๆ ก็เท่านั้นเอง

เส้นทาง "อนุทิน" สู่การร่วมรัฐบาลเลือกตั้ง "ประยุทธ์" ?

เปิดความสัมพันธ์ อนุทิน-เนวิน กับการเลือกขั้วรัฐบาล

วาทะเด็ด

เกาะติดสถานการณ์เลือกตั้ง 2562
กราบพระสยามเทวาธิราช ที่ดลบันดาลให้เรือล่มก่อนออกจากฝั่ง ไม่เช่นนั้น ประเทศเรา คงจะได้เจ้าหญิงแสนหวี ปลายหวีเหี่ยว มาเป็นนายกรัฐมนตรี
หม่อมเจ้า จุลเจิม ยุคล
26 มีนาคม 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
เราอยู่กันแบบไทย ๆ นี่คือวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ขอให้รักกันนะครับ ท่านจะไปร่ำไปเรียนที่ไหนมา ไปเอาตำราประเทศ.. ไม่อยากจะเอ่ยชื่อ เอาเขามาแล้วมาดูด้วยว่าควรจะมาดัดแปลงอะไรยังไง แต่ไม่ใช่พยายามจะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่าไปเอาความเป็นซ้ายจัด ที่เรียนมาแล้วดัดจริต
พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์
2 เมษายน 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
อยากได้ของใหม่ เบื่อของเก่า แต่ของใหม่ไม่แน่ใจว่าจะดีกว่าของเก่าเสมอไป พิจารณาให้ถี่ถ้วน อย่าฉาบฉวย ไม่งั้นจะผิดหวังว่าหลงรักคนเลวนะ
6 เมษายน 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
โกรธได้..แต่อย่าเกลียด
อิจฉาได้..แต่อย่าริษยา
โมโหได้..แต่อย่าอาฆาต
สงสารประเทศชาติบ้าง
ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค
8 เมษายน 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
คืออยากให้ถูกใจทุกฝ่ายเลยนะครับ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มหน้าเดิมเดิม เดี๋ยว ๆ ช่วยกันหาวิธีให้มีความสุขกันทุกฝ่ายนะครับ
โจ นูโว
1 เมษายน 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
9 เมษา 62 เวลา 10 น. ได้เวลายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. สอบสวนเอาผิด 7 กกต. เหตุจัดการเลือกตั้ง 24 มีนาโดยมิชอบ
ศรีสุวรรณ จรรยา
7 เมษายน 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
ประมาณว่า พวกมึง อย่าเสือก กระบวนการยุติธรรมประเทศอื่น แล้วคนที่ถูกกล่าวหาก็อย่าเลือกไปเชิญเขามา
กนก รัตน์วงศ์สกุล
9 เมษายน 2562
อ่านวาทะทั้งหมด
คนรวย 1% รวยล้นฟ้า แต่คนจนท่วมประเทศ ผมขออนุญาตผลิตคำขวัญใหม่ รวยกระจุก จนกระจาย กลางกระจ้อน ซึ่งกระจ้อนหมายถึงแคระแกร็น รายได้ชนชั้นกลางอาจเพิ่ม 60-70% แต่ค่าอาหาร ค่าเดินทางเพิ่มมากกว่าเท่าตัว...
ศาสตราจารย์ธีรยุทธ บุญมี
10 ธันวาคม 2561
อ่านวาทะทั้งหมด

รวมที่สุดของ "คำมั่นสัญญา" พรรคการเมือง

รอเช็กหลังเลือกตั้ง
คำมั่นสัญญาพรรคการเมือง

นโยบายจับต้องได้หรือขายฝัน

นโยบายพรรคการเมืองด้านสุขภาพ

  • เพิ่มเบี้ยคนชรา
  • บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
  • เพิ่มเบี้ยคนชรา 1,800 บาท/เดือน
  • ให้งบเด็ก แรกเกิดอายุ 0-6 ขวบ 1,200 บาท/เดือน
  • เพิ่มงบประกันสุขภาพเป็น 4,000 บาท/ปี
  • เพิ่มเบี้ยคนชรา 1,000 บาท/เดือน
  • ให้งบเด็กแรกเกิดอายุ 0-8 ปี เดือนแรกรับ 500 บาท เดือนต่อไป 1,000 บาท
  • เบี้ยผู้ยากไร้ 800 บาท/เดือน
  • บรรจุพยาบาล 12,000 ตำแหน่ง
  • เพิ่มเบี้ยคนชรา 1,000 บาท/เดือน
  • ให้งบเด็กแรกเกิดอายุ 0-6 ขวบ 2,000 บาท/เดือน
  • ตั้งท้องจนคลอดให้ 3,000 บาท/เดือน
  • สวัสดิการ อสม. 1,000 บาท/เดือน
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ให้ค่าเดินทางไปรักษาพยาบาล 1,500 บาท/คน/เดือน
  • เพิ่มเบี้ยคนชรา 2,000 บาท/เดือน
  • ยกระดับอนามัยให้เป็นโรงพยาบาลประจำตำบล 7,000 แห่ง
  • เพิ่มเบี้ยคนชรา 3,000 บาท/เดือน
  • รักษาพยาบาลฟรี
  • ยก อสม. เป็นหมอประจำบ้าน
  • เพิ่มเบี้ยคนชรา 2,000 บาท/เดือน
  • สร้างมินิสปอร์ตคอมเพล็กซ์ให้ทุกพื้นที่
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ
  • สร้างความเท่าเทียมทางเพศ
  • ผลักดันกฎหมายสิทธิผู้หญิง

นโยบาย “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”

“เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด”

นโยบายพรรคการเมืองด้านการทหาร

  • ยกเลิกเกณฑ์ทหาร
  • ตัดงบกลาโหม 10%
  • ยกเลิกเกณฑ์ทหาร
  • ลดนายพล
  • ยกเลิกเกณฑ์ทหารใช้สมัครใจ
  • ลดขนาดกำลังพล
  • ตัดงบตามความจำเป็น
  • ยกเลิกเกณฑ์ทหาร
  • ตัดค่าคอมมิชชั่น จากการขายอาวุธ และเครื่องจักร

นโยบายพรรคการเมืองด้านการทหาร

นโยบายพรรคการเมืองด้านเศรษฐกิจ

  • ตั้งสถาบันพัฒนารายได้เพื่อส่งเสริมแหล่งเงินทุนในทุกจังหวัด
  • ตั้งศูนย์สร้างเถ้าแก่ใหม่ และกองทุนคนเปลี่ยนงาน
  • สร้างอุตสาหกรรมที่ยังไม่มีฐานการผลิตในประเทศไทย
  • เปิดใบอนุญาตสร้างธนาคารท้องถิ่น
  • ปฏิรูประบบภาษี ด้วยการลดสิทธิประโยชน์บีโอไอ 3 หมื่นล้านบาท
  • เลิกสิทธิลดหย่อนภาษีคนรวย 5.8 หมื่นล้านบาท
  • ขึ้นอัตราภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง 4 หมื่นล้านบาท
  • ออกหวยบนดิน 4.2 หมื่นล้านบาท
  • ประกันรายได้แรงงาน 120,000 บาท/ปี
  • รถเก่ามาแลกรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนลด 100,000 บาท
  • สร้างเศรษฐกิจชีวภาพ
  • ฟรี Wi-Fi 9 พื้นที่
  • สานต่อนโยบายประชารัฐของ คสช.
  • ส่งเสริมการทำเกษตรแบบพันธสัญญา
  • แก้ไขความยากจนและความเหลื่อมล้ำ
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบคุณธรรมเศรษฐกิจปลอดดอกเบี้ย
  • นำพ.ร.บ. EEC ไปใช้ในภาคใต้
  • ส่งเสริม การนำรถยนต์ส่วนตัวมา สร้างรายได้ ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันต่าง ๆ
  • ตั้งกองทุนกู้ยืมในวงเงิน 10,000 ล้านบาท พัฒนา Smart SME
  • ตั้งกองทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตำบล ตำบลละ 2,000,000 บาท
  • พัฒนาเมืองโคราชให้เป็นประตูอีสานสู่อินโดจีน
  • การหารายได้เข้าประเทศทุกทิศทุกทาง เช่น ประเทศปลอดภาษีอันดับ 1 ของโลก สร้างนิคมฯ ชายแดน
  • อุดเงินรั่วไหลออกนอกประเทศแบบไม่รู้ตัว เช่น สงวนอาชีพธุรกิจออนไลน์ให้คนไทย

นโยบายพรรคการเมืองด้านการเกษตร

  • ตั้งกองทุนปรับเปลี่ยนหน้าดิน เพื่อปรับโครงสร้างรายได้เกษตรกร
  • ยกเลิกใช้สารเคมีอันตราย เช่น พาราควอต
  • ขยายขอบเขตและวัตถุประสงค์ของที่ดิน ส.ป.ก. ให้ชัดเจน
  • ที่ดิน ส.ป.ก. ต้องสามารถถ่ายโอนได้ ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน
  • สนับสนุนการปลูกไม้มีค่า
  • พักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี
  • ผลักดันสินค้าเกษตรให้ขึ้นอย่างน้อย 30% ภายใน 6 เดือน
  • ช่วยเหลือค่าใช้จ่าย เกวียนละ 5,000 บาท/ครัวเรือน
  • ออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
  • พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ
  • ตั้งวงเงิน 4 พันล้านบาท ปลดหนี้เกษตรกร
  • ตั้งวงเงิน 1 แสนล้านบาท เพื่อปรับหนี้เกษตรกร
  • แก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ซับซ้อน
  • ส่งเสริมโรงงานแปรรูป โรงสีข้าว โรงอบข้าว
  • ประกันรายได้พืชผล
  • ยกระดับที่ดิน ส.ป.ก. ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐ
  • ตั้งกองทุนน้ำชุมชน
  • ตั้งธนาคารที่ดิน สะสางโฉนดที่ดินที่ค้างท่อ
  • ประกันรายได้เกษตรกรข้าว ไม่ต่ำกว่าเกวียนละ 10,000 บาท
  • สร้างความเข้มแข็งฐานรากด้วยการสร้าง 1,000,000 บาท เกษตรอัจฉริยะใน 5 ปี
  • ส.ป.ก. 4-01 ให้สามารถโอนสิทธิที่ดินได้
  • สานต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • เพิ่มเงินชดเชยค่าเกี่ยวข้าว จาก 1,500 เป็น 2,000 บาทต่อไร่ สูงสุดที่ 20 ไร่
  • พักหนี้กองทุนหมู่บ้าน 3 ปี
  • ยกระดับราคาพืชผลข้าวตันละ 15,000 บาท, ยางกิโลกรัมละ 60-80 บาท, ปาล์ม 4-4.50 บาท
  • พัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูป
  • ปลอดภาษีรถยนต์เพื่อการเกษตรและประมง
  • ผลักดันให้ประเทศไทยกำหนดราคาสินค้าการเกษตร
  • ปลูกกัญชาได้เสรี
  • แก้กฎหมายประมง
  • สร้างโรงไฟฟ้าปาล์ม
  • ให้ปาล์มกิโลกรัมละ 5 บาท
  • เสนอกฎหมายตั้งกองทุนข้าว
  • จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อเกษตรกร เริ่มต้น 20,000 ล้านบาท

นโยบายพรรคการเมืองด้านการศึกษา

  • ยกการพัฒนาคนเป็นวาระแห่งชาติ
  • ยกระดับให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัจฉริยะ 20,000 แห่ง
  • กระจายอำนาจการศึกษา
  • เพิ่มงบประมาณให้กับการศึกษาขั้นปฐมวัย
  • โครงการหนึ่งอำเภอสองภาษา เด็กไทยจะต้องสื่อสารได้ทั้ง 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ และจีน)
  • เงินค่าครองชีพเยาวชน (18-22 ปี) 2,000 บาท/เดือน
  • ให้งบตรงกับโรงเรียน
  • ยกระดับห้องเรียน-ห้องสมุด สร้างศูนย์เลี้ยงเด็กและสถาบันฝึกอาชีวะ
  • สวัสดิการอาหารกลางวันฟรีตั้งแต่อนุบาลจนถึง ม.ปลาย มีนักโภชนาการ 1 คนต่อ 1 เขตการศึกษา
  • ขยายโอกาสการเรียนฟรี ถึง ปวส.
  • เด็กทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้
  • อาหาร เช้า กลางวัน ฟรี (อนุบาล-ม.3)
  • แก้ปัญหาให้กับผู้ที่เป็นหนี้ค้างชำระ กยศ.
  • วางระบบให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลระบบการศึกษาแทนกระทรวง ตามแนวคิด ‘บ้าน’ ‘วัด’ ‘โรงเรียน’
  • สิทธิสตรี ให้ความรู้เด็กและเยาวชนหญิง
  • ดึงมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงแก่โรงเรียน
  • ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษารับพลเมืองดิจิทัล
  • ยกเลิกดอกเบี้ย กยศ.
  • เรียนฟรีจนจบปริญาตรี
  • เรียนฟรีออนไลน์ตลอดชีวิต
  • ผ่อนคืนเงินต้นโครงการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา 10 ปี ไม่มีดอกเบี้ย
  • ยกเลิกค่าปรับ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน และพักหนี้ 5 ปี
  • ต้องมีห้องเรียนดิจิทัลให้เด็กได้เรียน 2-3 ภาษา
  • มีทุนครูเทคโนโลยีให้อำเภอละ 1,000,000 บาท เพื่อให้ครูออกไปพัฒนาตนเองและกลับมาพัฒนาท้องถิ่น

เทียบ 6 พรรคการเมือง "แข่งขึ้นค่าแรงดุเดือด"

ช่วงโค้งสุดท้าย...หลายพรรคการเมืองงัดกลยุทธ์เด็ดหวังเรียกคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยนโยบายการเพิ่มค่าแรงกำลังถูกหยิบยกขึ้นมาหาเสียงกันอย่างดุเดือดในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 2562
ขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พ.ศ. 2561 รัฐบาลกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 308 บาท/คน/วัน และสูงสุด 330 บาท/คน/วัน

ภาวะการทำงานของประชากร

จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ผู้ที่กำลังอยู่ในวัยแรงงาน 38.32 ล้านคน

นโยบายการเพิ่มค่าแรง ของแต่ละพรรค

  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท/คน/วัน
  • จบอาชีวะ 18,000 บาท/เดือน
  • ปริญญาตรีเงินเดือนขั้นต่ำ 20,000 บาท/เดือน
  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/คน/วัน
  • ประกันรายได้ของแรงงาน ขั้นต่ำ 120,000 บาท/ปี
  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/คน/วัน
  • ปริญญาตรี 18,000 บาท/เดือน
  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาท/คน/วัน
  • ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์
  • เพิ่มค่าล่วงเวลาจากค่าแรงปกติเป็น 2 เท่า
  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 500 บาท/คน/วัน
  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 360 บาท/คน/วัน

เจาะนโยบาย 5 พรรคการเมือง ยกระดับชายแดนใต้

เกาะติดสถานการณ์เลือกตั้ง 2562

วิเคราะห์สถานการณ์

เกาะติดสถานการณ์เลือกตั้ง 2562 ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบ แต่ละพรรคการเมือง

การจับขั้วทางการเมือง

จำนวน ส.ส. คาดการณ์ * หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ส.ส. ในสภา เมื่อ พ.ศ. 2554

กลุ่ม 1 คสช.
  • พลังประชารัฐ 80 ±
  • รวมพลังประชาชาติไทย 10 ±
  • ประชาชนปฏิรูป 1 ±
กลุ่ม 2 ไม่เอา คสช.
  • เพื่อไทย 160 ± (204)
  • อนาคตใหม่ 40 ±
  • ประชาชาติ 10 ±
  • เพื่อชาติ 10 ±
  • เสรีรวมไทย 5 ±
กลุ่ม 3 พรรคตัวแปร
  • ประชาธิปัตย์ 100 ± (115)
  • ภูมิใจไทย 40 ± (34)
  • ชาติไทยพัฒนา 15 ± (15)
  • ชาติพัฒนา 5 ± (5)

สูตร...จัดตั้งรัฐบาล

สูตรที่ 1 คสช.
นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(กลุ่ม 1 + พรรคตัวแปร + ส.ว.)
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พลังประชารัฐ + รวมพลังประชาชาติไทย + ประชาชนปฏิรูป + ประชาธิปัตย์ + พรรคตัวแปร

80 + 10 + 1 + 100 + ส.ว. 250 = 241 + พรรคตัวแปร

สูตรที่ 2 ไม่เอา คสช.
นายกฯ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
กลุ่ม 2 + พรรคตัวแปร (ยกเว้น พรรคประชาธิปัตย์)
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

เพื่อไทย + อนาคตใหม่ + ประชาชาติ + เพื่อชาติ+เสรีรวมไทย + ไทยรักษาชาติ + พรรคตัวแปร (ยกเว้น พรรคประชาธิปัตย์)

160+40+10+10+5 = 225+พรรคตัวแปร (40+15+5) (ยกเว้น พรรคประชาธิปัตย์) = 285

สูตรที่ 3 ไม่เอา คสช.
นายกฯ สุดารัตน์ + อภิสิทธิ์
กลุ่ม2 + พรรคตัวแปร
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ

160 + 40 + 10 + 10 + 5 = 215 + พรรคตัวแปร (100 + 40 + 15 + 5) = 385

ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก

กลุ่มที่จะได้มีโอกาสเลือกตั้งครั้งแรก ปี 2562 เกิดระหว่าง พ.ศ. 2537-2544 หรืออายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 7.36 ล้านคน
คิดเป็น 14.37% จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 51,287,013 คน
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มที่มีสิทธิเลือกตั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา แต่ยังไม่เคยได้เลือกตั้ง
2. กลุ่มที่จะมีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงใน พ.ศ. 2562

หมายเหตุ : ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561)

จากจำนวนผู้ที่จะได้มีโอกาสเลือกตั้งครั้งแรก เราสามารถคำนวณที่นั่ง ส.ส. ได้จาก สมการ "จำนวนคนที่มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก หารด้วย จำนวนคะแนนเสียงเลือกตั้งสำหรับ ส.ส. 1 คน" หรือ 7,368,589 คน ต่อ 102,574 เสียง เท่ากับ 71.84 ที่นั่ง
หรือ หมายความว่า คนรุ่นใหม่สามารถเลือกตัวแทนของตัวเองไปนั่งในสภาผู้แทนฯ ได้ถึง 71 คน หรือ คิดเป็น 14.20 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด

***หมายเหตุ : ตัวเลขดังกล่าวคำนวณจากกรณีผู้มาใช้เสียง 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามผู้ไม่มาใช้สิทธิ์

พรรคการเมือง

เกาะติดสถานการณ์เลือกตั้ง 2562

นักการเมือง

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐประหาร พ.ศ. 2557 และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ให้คำสัญญาว่าจะจัดเลือกตั้งใน พ.ศ. 2558 แต่ยกเลิกโดยระบุว่า บ้านเมืองยังไม่สงบ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวุฒิภาวะทางอารมณ์ในการเป็นผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายต่าง ๆ ล่าสุด การเลือกตั้ง 2562 ได้ตอบรับเป็นแคนดิเดตนายกฯ พรรคพลังประชารัฐ และยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมดีเบตกับแคนดิเดตพรรคอื่น ๆ
ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2548 กระทั่ง พ.ศ. 2549 ถูกรัฐประหาร ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวิกฤตทางการเมืองไทย มีการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจน มีกลุ่มผู้สนับสนุนคือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ต่อมา พ.ศ. 2551 ได้เดินทางกลับมาประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากลี้ภัยในต่างแดน เพื่อฟังคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดินรัชดา ก่อนจะเดินทางไปประเทศจีน และไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก แต่ยังมีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมืองไทยอยู่เป็นระยะ
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ พ.ศ. 2561 ประกาศเจตนารมณ์จะขจัดความขัดแย้งในประเทศ ได้รับความสนใจอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น กระแส #ฟ้ารักพ่อ ขณะเดียวกันก็มีกระแสต่อต้าน และถูกโจมตีจากหลายฝ่าย เช่น กรณีการพาดพิงรถไฟฟ้าสายสีทอง, ถูกดำเนินคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีลงข้อมูลบิดเบือนในเว็บไซต์พรรค ต่อมาศาลเลื่อนพิจารณาคำฟ้องไปเป็นวันที่ 26 มีนาคม 2562
อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น ส.ส. ครั้งแรก พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมา พ.ศ. 2542 เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมา พ.ศ. 2548 ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เคยเป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551 จากพรรครัฐบาลร่วม และ พ.ศ. 2554 ลาออกจากหัวหน้าพรรค แต่ก็กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งในปีเดียวกัน ปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พ.ศ. 2537 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อมา พ.ศ. 2538 - 2539 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จากนั้นใน พ.ศ. 2543 เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานยุทธศาสตร์เลือกตั้งพรรคเพื่อไทย
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฉายา "วีรบุรุษนาแก" และ "มือปราบตงฉิน" พ.ศ. 2555 ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย
สุเทพ เทือกสุบรรณ
สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น ส.ส. จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 จากนั้นชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. ต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2556 ได้ประกาศลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อนำมวลชนคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต่อต้านระบอบทักษิณ กระทั่ง พ.ศ. 2561 เป็นแกนนำและผู้ก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.)
ไพบูลย์ นิติตะวัน
ไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 วาระ โดยวาระแรกจากการสรรหาภาครัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2551 - 2554 และวาระที่ 2 จากการสรรหาภาคอื่น พ.ศ. 2555 - 2557 ระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง และเป็นผู้ยื่นคำร้องฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในคดีการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ปัจจุบันนายไพบูลย์เป็นหัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป

นับไปแล้ว

100%

รายงานผลคะแนนเลือกตั้ง 2562 แบบไม่เป็นทางการ

อัปเดต คะแนนล่าสุด ส่งตรงจาก กกต. ข้อมูล ณ วันที่ 28/3/2019 เวลา 14:37 น.
พลังประชารัฐ 8,433,137 คะแนน
ส.ส. เขต 97 บัญชีรายชื่อ 18
เพื่อไทย 7,920,630 คะแนน
ส.ส. เขต 136 บัญชีรายชื่อ 0
อนาคตใหม่ 6,265,950 คะแนน
ส.ส. เขต 30 บัญชีรายชื่อ 50
ประชาธิปัตย์ 3,947,726 คะแนน
ส.ส. เขต 33 บัญชีรายชื่อ 19
ภูมิใจไทย 3,732,883 คะแนน
ส.ส. เขต 39 บัญชีรายชื่อ 12
เสรีรวมไทย 826,530 คะแนน
ส.ส. เขต 0 บัญชีรายชื่อ 10
ชาติไทยพัฒนา 782,031 คะแนน
ส.ส. เขต 6 บัญชีรายชื่อ 4
เศรษฐกิจใหม่ 485,664 คะแนน
ส.ส. เขต 0 บัญชีรายชื่อ 6
ประชาชาติ 485,436 คะแนน
ส.ส. เขต 6 บัญชีรายชื่อ 1
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง : 51,239,638 จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 38,268,375 บัตรดี : 35,532,645 บัตรเสีย : 2,130,327 Vote No : 605,392
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง : 0 จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 0 บัตรดี : 0 บัตรเสีย : 0 Vote No : 0

ดูคะแนนผู้สมัครรายเขต เลือกที่นี่